วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความรู้ที่ได้จากTCU

ความหลากหลายทางชีวภาพ

            ความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งในโลกเรานี้  คือ  ความหลากหลายรูปแบบของสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการ ทั้งของสิ่งมีชีวิตเองและของสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่อง  จากอดีตจนถึงปัจจุบัน  และคงเปลี่ยนแปลงต่อไปอีกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  สิ่งมีชีวิตที่ปรากฎอยู่ในโลกปัจจุบันประมาณ 3-5 ล้านชนิด และคาดว่าอาจะมีมากมายถึง  30  ล้านชนิด  ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทางนิเวศวิทยา  และ แหล่งที่อยู่อาศัย  อันเกิดจากผลกระทบย้อนกลับไปกลับมาระหว่าง สิ่งมีชีวิตกับสภาวะแวดล้อม  จึงอาจกล่าวได้ว่า การเกิดความหลากหลายของสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยให้เพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชิวิตต่าง ๆ    เป็นเงาตามตัวไปด้วย อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติย่อมมีความสมดุลเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น   การเพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตถึงถูกกำจัดด้วยกระบวนการธรรมชาติบางอย่าง      โดยเฉพาะการสูญพันธุ์ซึ่งเป็นสัจธรรมอย่างหนึ่ง ดังคำกล่าวของพระพุทธองค์ที่ว่า มีเกิดก็มีดับ

ความหลากหลายทางชีวภาพ มีความหมายกว้างขวางครอบคลุมถึงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด  ไม่ว่าจะเป็นพวกจุลินทรีย์ พืช สัตว์ รวมทั้งมนุษย์  สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดล้วนแต่มีองค์ประกอบทางพันธุกรรมที่แตกต่างแปรผันออกไปมากมาย  เพื่อให้เกิดความสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพแหล่งที่อยู่อาศัยในแต่ละท้องถิ่น  อันเป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อน และหลากหลายในบริเวณต่าง ๆ ของโลก  ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นผลที่เกิดจากกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต  ดังสรุปไว้ในแผนภาพที่ 1  ความหลากหลายทางชีวภาพมีความสำคัญต่อมนุษย์ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เพราะธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับปัจจัยทั้งสี่ที่ช่วยค้ำจุนให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข
แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็มีพฤติกรรม และกิจกรรมในลักษณะคล้ายกับ ทุบหม้อข้าวตัวเอง  โดยรู้เท่าไม่    ถึงการณ์และขาดความยั้งคิด เพราะมนุษย์ยุคปัจจุบันได้ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งต่าง ๆ  ทั่วโลกอย่างน่าอนาถใจ  ดังนั้น เราจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพในแง่มุมต่าง ๆ ให้ถ่องแท้    เพื่อจะได้หาแนวทางการจัดการกับความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในโลกนี้  ให้เหมาะสม   และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมวลมนุษยชาติ  การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตจะทำได้ดีที่สุดหากเราเข้าใจในความหลากหลายของสรรพสิ่งทั้งหมด ดังที่ E.O. Willson (1988) กล่าวไว้ว่า “The laws of biology are written in the language of diversity”
            ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต  นักชีววิทยาคาดการณ์ว่าโลกเรานี้มีสิ่งมีชีวิตจำนวนมากมายหลายล้านชนิด  แต่ที่ได้ศึกษากันตามหลักวิทยาศาสตร์มีอยู่เพียงประมาณ 2 ล้านชนิดเท่านั้น  และในจำนวนสิ่งมีชีวิตที่รู้จักกันแล้วนี้มีอยู่เพียงน้อยนิดเท่านั้น (ไม่ถึง  0.01%)  ที่นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษา และตรวจสอบถึงศักยภาพและคุณค่าที่อาจเป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมต่าง ๆ  ของมนุษย์  ทั้งโดยทางตรงทางอ้อม  ข้อเท็จจริงดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เอาใจใส่ และด้วยในความรู้ของเราเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมโลกกับเรา เราอาจกล่าวอย่างมั่นใจได้ว่ายังมีสิ่งมีชีวิตอีกมากมายที่รอคอยการศึกษาจากนักวิชาการ  โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตในบริเวณป่าชื้นเขตร้อน  ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางประมาณ  7% ของผืนแผ่นดินที่อยู่อาศัยทั่วโลก  ป่าชื้นเขตร้อนเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ และ เอื้ออำนวยให้มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมากมาย เสมือนเป็นศูนย์กลางแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ที่สมควรได้รับความสนใจดูแลรักษาสภาพไว้ให้เป็นสมบัติล้ำค่าของประเทศและของโลกด้วย  นักวิชาการคาดหมายว่ามีสิ่งมีชีวิตจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ล้านชนิดในป่าชื้นเขตร้อนในจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่คาดว่ามีประมาณ 5 ล้านชนิดหรือมากกว่านั้น แต่จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันบ่งบอกว่ามีสิ่งมีชีวิตเพียงประมาณ 5 แสนชนิดเท่านั้นที่ได้รับการศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์ และคาดว่าในป่าชื้นเขตร้อนยังมีสิ่งมีชีวิตอีกจำนวนมากมายที่มีความหลากหลายอย่างน่าอัศจรรย์  คงมีสิ่งมีชีวิตจำนวนไม่น้อยในป่าชื้นเขตร้อนที่ถูกทำลายสูญหาไปจากโลกนี้อย่างไม่มีวันที่จะหวนกลับคืนมาได้อีกโดยน้ำมือของมนุษย์จะโดยจงใจหรือไม่ก็ตาม  ทั้ง ๆ ที่สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้วนั้นอาจมีประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติอย่างมหาศาล หากว่าเราได้รู้จักมันและศึกษาหาความรู้จากมันเสียก่อน
            เราต้องยอมรับความจริงว่าการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยกลไกตามธรรมชาติ  เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นไม่เร็วก็ช้า  มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตชนิดที่ปรากฎอยู่ในโลกปัจจุบันเป็นเพียงส่วนน้อยนิดประมาณ 1% ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ จำนวนมากมายหลายร้อยล้านชนิดที่เคยอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ในอดีตกาล  โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลา 600 ล้านปีที่ผ่านมา  มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าว มีสิ่งมีชีวิตมากมายและหลากหลายที่สุด  จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคทองของความหลากหลายทางชีวภาพทีเดียว เราอาจประมาณการณ์ได้ว่าอัตราสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในช่วงเวลาดังกล่าวในอดีตกาล  เกิดขึ้นตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ  โดยเฉลี่ยประมาณปีละ 1 สปีชีส์ แต่ในปัจจุบันพบว่า  การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมยุคใหม่ เกิดขึ้นในอัตราที่รวดเร็วเป็นหลายร้อยหลายพันเท่าของอัตราสูญพันธุ์ในอดีตกาล  จะสังเกตว่า การสูญพันธุ์อย่างรวดเร็วเกิดขึ้นในพวกที่อาศัยอยู่ในป่าชื้นเขตร้อน  โดยเฉพาะในประเทศที่ด้วยพัฒนา และที่กำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยเราด้วย การสูญเสียทรัพยากรสิ่งมีชีวิตอย่างากมายในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียงไม่กี่สิบปีมานี้ ส่วนใหญ่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์อย่างน่าอนาถใจยิ่ง  นักวิชาการประเมินอัตราสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตประมาณวันละ 1 ชนิด ในช่วงปี ค.. 1970 และเพิ่มขึ้นเป็นชั่วโมงละ 1 ชนิดในช่วงปี ค.. 1980 หากอัตราสูญพันธุ์เป็นไปในลักษณะเช่นนั้ก็เป็นที่เชื่อกันว่าภายใจสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้ จะมีการสูญพันธุ์ไม่น้อยกว่า  20-50%  ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลกกลมใบนี้  และในจำนวนที่สูญพันธุ์ไปนี้จะเป็นการสูญเสียจากป่าชื้นเขตร้อนมากที่สุด เพราะมีหลักฐานแสดงให้เห็นชัดเจนว่ามีการทำลายป่าไม้ในเขตร้นอย่างมากมายในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา
            ในระบบนิเวศที่สมดุล  การสูญเสียสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง อาจมีผลกระทบถึงสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่  มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่กรณี นักชีววิทยาได้ประมาณการณ์ว่า การสูญพันธุ์ของพืชชนิดหนึ่งสามารถส่งผลกระทบให้มีการสูญเสียแมลงและสัตว์อื่นในระบบนิเวศเดียวกันได้มากมากหลายชนิด อาจมากถึง 30 ชนิดก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบอาจไม่ปรากฎชัดเจนในทันท่วงทีในระบบนิเวศที่ซับซ้อน

ความรู้ที่ได้จากTCU

ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย

 ศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของไทย เมืองสำคัญ สถานที่สำคัญ บุคคลสำคัญของไทย ประวัติศาสตร์และตำนานท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมไทยของคนไทยโดยส่วนนวมและของท้องถิ่น การละเล่นในท้องถิ่นต่างๆ ของไทย วิวัฒนาการการดำรงชีวิตของคนไทย ให้มีความรู้ในสิ่งเหล่านี้ จนสามารถอธิบายความเป็นมาแสดงความคิดเห็นและให้ทัศนวิจารณ์ได้
                วัตถุประสงค์
                                1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชาติไทย ธรรมเนียมประเพณี คติความเชื่อต่างๆ สถานที่และบุคคลสำคัญของไทย
                        2. เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติที่มีอารยธรรมมายาวนาน
                        3. เพื่อให้นักศึกษาได้ฟังข้อมูลทางวิชาการไปใช้กับสายงานอาชีพธุรกิจท่องเที่ยวได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
            หัวข้อบรรยาย
                        พระราชพิธีสิบสองเดือน
            วัตถุประสงค์
                        1. ให้รู้จักและเข้าใจกฎธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ในการพระราชพิธีสิบสิงเดือน ในฐานะ พิธีหลวงที่จะส่งผลต่อการเข้าใจพื้นฐาน
                        2. สร้างจิตสำนึกทางวัฒนธรรมนิยมแก่นิสิตนักศึกษาปละประชาชนทั่วไป
            เนื้อหา
-          ความเป็นมาของพระราชพิธีสิบสองเดือน
-          เดือนห้า                   การพระราชพิธีเผด็จศึก ลดแอกออกสนาม
-          เดือนหก                  พิธีไพศาขย์ จรดพระนังคัล
-          เดือนเจ็ด                  ทูลน้ำล้างพระบาท
-          เดือนแปด                เข้าพรรษา
-          เดือนเก้า                  ตุลาภาร
-          เดือนสิบ                  ภัทรบทพิธีสารท
-          เดือนสิบสอง            อาศยุชยแข่งเรือ
-          เดือนอ้าย                 ไล่เรือ เถลิงพิธีตรียัมพวาย
-          เดือนยี่                     การพิธีบุษยาภิเษก เฉวียนพระโคกินเลี้ยง
-          เดือนสาม                 การพิธีธานยเทาะห์
-          เดือนสี่                    การพิธีสัมพัจฉร
วิธีการ
                    1. บรรยายเชิงพรรนา
                    2 ภาพประกอบพร้อมสื่ออื่นๆ

ความรู้ที่ได้จากTCU

ความสำคัญของการพูด
                        การพูดเป็นการสื่อสารที่สะดวก  รวดเร็ว  ประหยัด  และมีประสิทธิภาพสูง ทุกคน ทุกอาชีพ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้การพูดด้วยกันทั้งนั้น
                        ในทางพุทธศาสนา ได้จัดการพูดดีไว้เป็นมงคลชีวิต มงคลหนึ่งใน 38 มงคล คือ มงคลที่ 10  สุภาสิตา  อยา  วาจาหมาถึง การมีวาจาสุภาษิต เป็นมงคลชีวิต
                        ... คึกฤทธิ์  ปราโมช  ได้ชี้ถึงความสำคัญของการพูดไว้ในเรื่อง  การพูดสมบัติพิเศษของมนุษย์  ดังนี้
                        ในการเสนอแผนการหรือนโยบายนั้น  บุคคลผู้เสนอจะต้องอาศัยปากอันเป็นเอก หรือการพูดที่ดีเป็นสำคัญ  หากพูดดีแล้วก็ย่อมได้รับการสนับสนุนร่วมมือโดยไม่มีปัญหา แต่ถ้าหากว่าพูดไม่ดี  เป็นต้นวาขาดการใช้ถ้อยคำที่สละสลวยถูกต้อง  หรือขาดสำนวนโวหารอันควรฟัง ลำดับเหตุผลไม่ถูกต้อง ไม่รู้จิตวิทยาชุมชน หรือ ลุแก่โทสะ โมหะ  อย่างใดอย่างหนึ่งในระหว่างที่พูดแล้ว แผนการหรือนโยบายที่ตั้งในจะเสนอนั้น ก็จะล้มเหลวเสียตั้งแต่แรก เพราะขาดผู้สนใจ ขาดผู้สนับสนุน ประโยชน์ที่ควรจะเกิดก็ไม่เกิดขึ้น

วัตถุประสงค์ในการพูด
1.      เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร
2.      เพื่อสร้างความเข้าใจ
3.      เพื่อให้เกิดความเชื่อ เห็นคล้อยตาม
4.      เพื่อให้กระทำตามที่ต้องการ
5.      เพื่อบรรยากาศที่ดี

โอกาสในการพูด
1.      การพูดต่อที่ชุมชน
2.      การพูดปราศรัยในงานต่างๆ
3.      การสอน การบรรยาย
4.      การนำเสนอ
5.      การอภิปราย ปาฐกถา โต้วาที
6.      การพูดจูงใจ
7.      การประชุม

แบบในการพูด
-          ท่องจำ
-          อ่านจากร่าง
-          พูดตามหัวข้อ
-          พูดโดยไม่เตรียมตัว (พูดในสถานการณ์เฉพาะหน้า)

องค์ประกอบในการพูดให้จับใจผู้ฟัง
            องค์ประกอบที่สำคัญในการพูดให้จับใจผู้ฟัง มี 3 ส่วน คือ
1.      ผู้พูด
ประกอบด้วยเรื่องที่ต้องรู้ดังนี้
-          บุคลิกลักษณะ
-          การเตรียมตัว
2.      เนื้อหา
ประกอบด้วยเรื่องที่สำคัญคือ
-          การรวบรวมข้อมูล
-          การสร้างโครงเรื่อง
-          การใช้ถ้อยคำภาษา
-          การใช้สื่อ
-          การทดสอบความพร้อม
3.      ผู้ฟัง
-          วิเคราะห์ผู้ฟัง  เพื่อเตรียมตัวพูด

บุคลิกลักษณะที่ดีของผู้พูด
            ลักษณะที่ดี 10 ประการของผู้พูด
1.      รูปร่างหน้าตา
การดูแลรูปร่างหน้าตาให้ดูดี จะช่วยสร้างความพอใจและความยอมรับจากผู้ฟังหรืออย่าง
น้อยก็ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้านจากผู้ฟัง จึงเป็นสิ่งที่ผู้พูดไม่ควรละเลย
เรื่องที่ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา คือ
-          ความสะอาด
-          ความเรียบร้อย
-          การจัดให้ดูดี
2.      การแต่งกาย
ไก่งามเพราะขน  คนงามเพราะแต่ง    ยังคงใช้ได้       สำหรับการเป็นผู้พูดที่ประสบ
ความสำเร็จ เพราะการแต่งกายที่ดี  จะนำมาซึ่งความพอใจและความเชื่อถือของผู้ฟัง
                        การแต่งกายที่ดี ควรพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้
-          รูปร่าง
-          วัย
-          โอกาส
-          เวลา
-          สถานที่
-          การตกแต่งประดับประดาที่พอดี
-          การสำรวจตรวจสอบความเรียบร้อย
-          ความสุภาพ
3.      น้ำเสียง
ผู้พูดต้องพูดเสียไม่เบา  หรือดังเกินไป  โดยคำนึงถึงสถานที่และ จำนวนผู้ฟัง  รู้จักใช้เสียง
หนัก  เบา  มีท่วงทีลีลาและจังหวะในการพูด    มีการเน้นย้ำให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด เพื่อการกระตุ้นผู้ฟังให้สนใจตลอดเวลา
4.      สีหน้า
ผู้พูดต้องแสดงสีหน้าให้สอดคล้องกับเรื่องราวที่พูด  พูดเรื่องเศร้าสีหน้าต้องเศร้า โกรธ สี
หน้าต้องโกรธ  พูดจริง หน้าตาต้องจริงจัง  พูดเล่น หน้าตา (น้ำเสียงด้วย) ก็ต้องให้ผู้ฟังรู้ว่าพูดเล่น ฯลฯ  ผู้ฟังจะคล้อยตามผู้พูดเมื่อสีหน้าผู้พูดแสดงความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ
5.      สายตา
ดวงตาเป็นหน้าต่างของดวงใจ   ใจของผู้พูดเป็นอย่างไร  ตาก็เป็นอย่างนั้น ผู้พูดต้องสบตา
ผู้ฟัง เพื่อให้รู้สึกว่าผู้พูดกำลังพูดกับผู้ฟัง
6.      ท่าทาง
ผู้พูดต้องพูดจากใจ มีความจริงใจ พูดจากความรู้สึกจริงๆ ท่าทางก็ออกไปโดยอัตโนมัติ
อย่างไปกำหนดท่าทางว่า พูดอย่างนี้อย่างนั้นแล้ว ต้องแสดงท่าทางอย่างนี้อย่างนั้น จะทำให้การพูดสะดุดไม่เป็นธรรมชาติ แต่พึงระวัง ในระหว่างที่กำลังพูดอย่าล้วง แคะ แกะ เกา จะทำให้ผู้ฟังไปสนใจกิริยาท่าทางดังกล่าว
7.      ความเชื่อมั่น
ผู้พูดที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จะแสดงความประหม่าให้ผู้ฟังเห็น นอกจากการพูดจะ
ไม่คล่องแล้ว ความประทับใจของผู้ฟังก็จะไม่เกิดขึ้น  ผู้พูดต้องแสดงความเชื่อมั่นให้กับตนเอง คือ ต้องศึกษาหลักการพูด  วิเคราะห์ผู้ฟัง  เตรียมเนื้อหาและฝึกซ้อมจนพูดได้โดยรู้สึกเป็นธรรมชาติ ปราศจากความประหม่า
8.      ความกระตือรือร้น
ผู้พูดที่ดีต้องพูดอย่างมีชีวิตชีวา ไม่เนือย ไม่เฉื่อย เพราะทฤษฎีของการพูดมีอยู่ว่า ผู้พูด
ต้องเป็นผู้กำหนดท่าทีของผู้ฟัง  นั่นหมายความว่า  หากผู้พูดพูดอย่างกระตือรือร้น ผู้ฟังจะ สนใจและกระตือรือร้นในการฟัง
9.      อารมณ์ขัน
ผู้ฟังทุกคนต้องการหาความรู้ ต้อการฟังเรื่องที่มีสาระ แต่ในขณะเดียวกัน  ก็ต้องการความ
สนุกสนานด้วย  หากผู้พูดมีอารมณ์ขัน และใช้อารมณ์ขันให้เหมาะสม กับเรื่องกับโอกาสแล้ว จะประสบความสำเร็จในการพูดเป็นอย่างยิ่ง  ผู้ฟังจะพอใจและประทับใจและมีอารมณ์ร่วมตลอดเวลา อารมณ์ขันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้พูดมีอารมณ์แจ่มใส มองคนมองโลกในแง่ดี สะสมตัวอย่างตลกขำขัน ไว้มากมายสามารถจะดึงมาให้ได้อย่างไม่หมดสิ้น
10.  ปฏิภาณไหวพริบ
เพื่อใช้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น  การฝึกฝนให้มีปฏิภาณไหวพริบ จะช่วยคลี่คลาย
สถานการณ์ ทำให้เรื่องร้ายกลายเป็นดี หรือผ่อนคลายจากหนักเป็นเบาลงได้

ความรู้ที่ได้จาก TCU

                                                                   ความจริงของชีวิต
(หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด)
เรื่องสำคัญยิ่งใหญ่อีกเรื่องหนึ่งในพระพุทธศาสนาคือเรื่องหลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า The Law of Karma and Rebirth
ความเข้าใจเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดจะช่วยแก้ปัญหาชีวิตได้ทุกแง่ทุกมุม ทำให้ไม่ต้องน้อยใจในชะตาชีวิตของตนและไม่ริษยาความสุขของผู้อื่น เพราะได้เห็นแจ้งแล้วว่า ความสุขทุกข์ รุ่งเรือง หรือล้มเหลวในชีวิตของแต่ละคนนี้เป็นผลรวมแห่งกรรมของตน หรือกรรมแห่งหมู่คณะของตนเป็นต้น
เรื่องกรรม ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ความแตกต่างกันในเรื่องอุปนิสัยใจคอของคน แม้อยู่ในสิ่งแวดล้อมอย่างเดียวกันและมีมารดาบิดาเดียวกัน ได้รับการอบรมอย่างเดียวกัน  
ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเรื่องกรรม ทำให้บุคคลมีน้ำอดน้ำทน มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ท้อถอย มีความเพียรสั่งสมกรรมดีขยาดต่อกรรมชั่ว ไม่ตีโพยตีพายเมื่อผิดหวัง และไม่ระเริงหลงในเมื่อประสบผลดี เราะมารู้แจ้งว่าผลทุกอย่างย่อมมีมาเพราะเหตุ
เรื่องกรรมช่วยให้บุคคลกล้าเผชิญชีวิตอย่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยว สามารถมองเห็นแง่ดีแม้ของความผิดหวัง หรือส่งที่เรียกกันว่าโชคร้าย เพราะแจ่มแจ้งว่า มันเป็นการใช้หนี้กรรมอย่างหนึ่ง ทำให้เรือชีวิตเบาขึ้น ทำให้แล่นไปข้างหน้าได้รวดเร็วขึ้น เหมือนบุคคลมีหนี้สิน เมื่อได้ใช้หนี้ไปเสียบ้าง ย่อมทำให้สบายใจขึ้น เบาใจขึ้น
หลักกรรมจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่มีการเกิดใหม่หรือการเวียนว่ายตายเกิด เพราะมีปัญหาชีวิตหลายอย่างที่ไม่อาจเข้าใจได้ ถ้าปราศจากการเวียนว่ายตายเกิดหรือที่เรียกว่า สังสารวัฏเช่นปัญหาเรื่องคนดีบางคนมีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมาน และคนชั่วบางคนมีชีวิตอยู่อย่างสุขสำราญเป็นต้น ปัญหานี้จะเป็นเรื่องค้างโลกถ้ากฎแห่งกรรมและการเกิดใหม่ไม่เข้ามาช่วยแก้
อนึ่ง ช่วงชีวิตเพียงช่วงเดียวของบุคคลสั้นเกินไปไม่เพียงพอพิสูจน์กรรมที่บุคคลทำไว้แล้วได้ทั้งหมด การเกิดใหม่จะช่วยอธิบายกรรมในอดีตของคนได้อย่างดีที่สุด ดังนั้นชีวิตมนุษย์จึงเป็นสนามหรือเวทีสำหรับทดลองแรงกรรม ว่าใครได้ทำกรรมอะไรไว้มา น้อย เบาบาง หรือรุนแรงเพียงใด
                ด้วยประการฉะนี้ การศึกษาให้รู้แจ้งในเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญไปสู่การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง มีผลเป็นความสุข สงบแก่ผู้ศึกษาเรียนรู้ มีประโยชน์ในการพัฒนาชีวิตจิตใจให้สูงขึ้นร่มเย็นและทำให้เห็นว่าการเกิดของเรามีความหมาย ไม่ใช่เกิดมาโดยบังเอิญ มีชีวิตอยู่อย่างหลักลอยปล่อยตัวและตายไปอย่างน่าสมเพชเวทนา
                เรื่องกรรม และการเวียนว่ายตายเกิดทำให้บุคคลหายงมงายหายตื่นเต้นต่อความขึ้นลงของชีวิต ช่วยคลี่คลายความข้องใจในความสับสนของชีวิต เป็นเรื่องที่พุทธศาสนิกผู้นับถือพระพุทธศาสนา ควรเรียนรู้และทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งเพื่อชีวิต เป็นเรื่องที่พุทธศาสนิกผู้นับถือพระพุทธศาสนา ความเรียนรู้และทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งเพื่อชีวิตของตนเองจะได้ดีขึ้นและทำผู้ใกล้ชิด เช่น บุตรหลาน หรือบริวารชนให้มีความเข้าใจในปัญหาชีวิตของตน
                ครู ผู้สอนวิชาศาสนาหรือวิชาอื่นใดก็ตามควรย้ำให้นักเรียนเข้าใจและเชื่อมั่นในเรื่องหลักกรรมและสังสารวัฎเพราะอันนี้คือพื้นฐานอันจะทำให้ศีลธรรมมั่นคงในจิตใจของเยาวชนเหล่านั้น
                ต่อไปนี้เป็นพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7 แห่งบรมจักรีวงศ์)
สำหรับพระพุทธศาสนานั้น ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าสิ่งที่เราควรจะสอนให้เข้าใจแลบะให้เชื่อมั่นเสียตั้งแต่ต้นทีเดียวคือสิ่งที่เป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนา นั่นคือ วัฏฏสงสาร การเวียนว่ายตายเกิดและกรรม ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว เป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนาเพราะหนทางปฏิบัติของพุทธศาสนาก็เพื่อให้พ้นจากวัฏฏสงสาร อันเป็นความทุกข์แต่สิ่งที่ดีประเสริฐยิ่งนั้นคือความเชื่อในกรรม แต่จะสอนแต่เรื่องกรรมอย่างเดียว ไม่สอนเรื่องวัฏฏสงสารด้วยก็ไม่สมบูรณ์
                ความเชื่อในกรรม ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นของประเสริฐยิ่งควรเพาะให้มีขึ้นในใจของคนทุกคน และถ้าคนทั้งโลกเชื่อมั่นในกรรมแล้ว มนุษย์ในโลกจะได้รับความสุขใจขึ้นมาก เป็นสิ่งที่ทำให้คนขวนขวายทำแต่กรรมดีโดยหวังผลที่ดี เรื่องวัฏฏสงสารและกรรมนี้เป็นของต้องมีความเชื่อ เพราะเป็นของที่น่าเชื่อกว่าความเชื่ออีกหลายอย่าง
                ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่า ถ้าคนเราเชื่อกรรมจริง ๆ แล้ว ควรจะได้ความสุขใจไม่น้อย โดยที่ไม่ทำให้รู้สึกท้อถอยอย่างไร
                ข้าพเจ้าเห็นว่า เราควรพยายามสอนเด็กให้เชื่อมั่นในกรรมเสียแต่ต้นทีเดียว ยิ่งให้เชื่อได้มากท่าไรยิ่งดี ควรให้ฝังเป็นนิสัยทีเดียว
 กฎแห่งกรรม
                หลักกรรมหรือกฎแห่งกรรมมีอยู่ว่า บุคคลทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เขาย่อมต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้นแต่เนื่องจากกรรมบางอย่างหรือการกระทำบางคราวไม่มีผลปรากฏชัดในทันที ผู้มีปัญญาน้อยจึงมองไม่เห็นผลแห่งกรรมของตน ทำให้สับสนและเข้าใจไขว้เขว เพราะบางทีกำลังทำชั่วอยู่แท้ ๆ มีผลดีมากมาย เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หลั่งไหลเข้ามาในชีวิต ตรงกันข้ามบางคราวกำบังทำความดีอยู่อย่างมโหฬาร แต่กลับได้รับความทุกข์ทรมานต่าง ๆ มีผลไม่ดีมากมาย เช่น ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทาว่าร้ายถูกสบประมาท และความเจ็บไข้ได้ป่วยหลั่งไหลเข้ามาในชีวิต
                ความสลับซับซ้อนดังกล่าว ทำให้ผู้รับผลของกรรมสับสน เกิดความไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ตนทำนั้นเป็นความชั่วจริง ๆ หรือ ?
                ตามความเป็นจริงแล้ว กรรมชั่วที่เขากำลังทำอยู่ยังไม่ทันให้ผล กรรมดีที่เขาเคยทำไว้ก่อนถึงวาระให้ผลในขณะที่คนผู้นั้นกำลังทำชั่วอยู่ จึงทำให้เขาได้รับผลดีถ้าเปรียบทางวัตถุก็จะมองเห็นง่ายขึ้น เช่นคน ๆ หนึ่งกำลังปลูกต้นไม้อันเป็นพิษอยู่ มีผลไม้หอมหวานอร่อยสุกมากมายในสวนของเขา  เขาได้ลิ้มรสอันอร่อยของผลไม้ซึ่งเขาปลูกไว้ก่อน ต่อมาต้นไม้มีพิษออกผลในขณะที่เขากำลังปลูกต้นไม้ที่มีผลอร่อยอยู่ เขาบริโภคผลไม้มีพิษ รู้สึกได้รับทุกเวทนาข้อนี้ฉันใด กรรมกับผู้กระทำกรรมก็ฉันนั้น กรรมดีย่อมให้ผลดี กรรมชั่วย่อมให้ผลชั่ว แต่เพราะกรรมจะให้ผลก็ต่อเมื่อสุกเต็มที่แล้ว (Maturation) และมีความสลับซับซ้อนมาก จึงทำให้งง ทั้งนี้ สามเหตุหนึ่งก็เพราะสติปัญญาของคนทั่วไปมีอยู่อย่างจำกัดมาก เหมือนแสงสว่างน้อย ๆ ไม่พอที่ส่องให้เห็นวัตถุอันสลับซับซ้อนอยู่มากมายในบริเวณอันกว้างใหญ่และบริเวณนั้นถูกปกคลุมอยู่ด้วยความมืด เมื่อใดดวงปัญญาของเขาแจ่มใสขึ้น เขาย่อมมองเห็นตามเป็นจริง ปัญญาของเขายิ่งแจ่มใสขึ้นเพียงใดเขาย่อมสามารถมองเห็นเรื่องกรรมและความสบับซับซ้อนของชีวิตมากขึ้นเพียงนั้น เหมือนแสงสว่างมีมากขึ้นเพียงใด ผู้มีจักษุปกติย่อมสามารถมองเห็นวัตถุอันละเอียดมากขึ้นเพียงนั้น
                สิ่งใดที่ละเอียดมาก เช่น จุลินทรีย์ มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นนักวิทยาศาสตร์เขาใช้เครื่องมือคือกล้องจุลทรรศน์ซึ่งมีอานุภาพขยายเป็นพัน ๆ เท่าของวัตถุจริง จึงทำให้มองเห็นได้ สิ่งใดอยู่ไกลมากระยะสายตาธรรมดาไม่อาจทอดไปถึงได้นักวิทยาศาสตร์เขาใช้กล้องส่องทางไกล จึงสามารถมองเห็นได้เหมือนวัตถุซึ่งปรากฏอยู่ ณ ที่ใกล้ข้อนี้ฉันใด
                ผู้ได้อบรมจิตและปัญญาแล้วก็ฉันนั้น เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางจิต สามารถเห็นได้ละเอียดรู้ได้ไกลซึ่งเรื่องกรรมและผลของกรรม ชนิดที่สามัญชนมองไม่เห็นหรือมองให้เห็นได้โดยยาก ทั้งนี้ เพราะท่านมีเครื่องมือคือปัญญาหรือญาณสามัญชนไม่มีปัญญาหรือญาณเช่นนั้นจึงมองไม่เห็นอย่างที่ท่านเห็น เมื่อท่านบอกให้บากคนก็เชื่อตาม บางคนไม่เชื่อ ใครเชื่อก็เป็นประโยชน์แก่เขาเองทั่งด้านการดำเนินชีวิตและจิตใจ หาความสุขได้เอง
                ผู้เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ได้กำไรกว่าผู้ไม่เชื่อคือทำให้เว้นชั่ว ทำดีได้มั่นคง ยั่งยืนกว่าผู้ไม่เชื่อ ทำให้เป็นคนดีในโลกนี้ จากโลกนี้ไปแล้วก็ไปบีนเทิงในโลกหน้าเมื่อประสบปัญหาชีวิตอันแสบเผ็ดก็สามารถทำใจได้ว่า มันเป็นผลของกรรมชั่วเมื่อประสบความรื่นรมย์ในชีวิตก็ไม่ประมาท มองเห็นผลแห่งกรรมดีและหาทางพอกพูนกรรมดีต่อไป

                เรื่องทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

                เรื่องนี้เป็นความจริงอย่างยิ่ง แต่ที่คนส่วนมากยังลังเลหรือเข้าใจผิดไปบ้างก็เพราะความสลับซับซ้อนของกรรมและการให้ผลของมัน การได้ดีหรือได้ชั่วนั้น ถ้าเอาวัตถุภายนอกเป็นเครื่องตัดสินก็ลำบากหน่อย ต้องรอคอยบางทีขณะที่กำลังรอคอยอยู่นั้น ผลของกรรมอื่นแทรก แซงเข้ามาเสียก่อน ยิ่งทำให้ผู้ทำกรรมซึ่งกำลังรอคอยผลอยู่นั้นงงและไขว้เขวไปใหญ่
               
ผลภายนอกและผลภายใน
ผลภายนอก คือ ผลที่ตนเองและคนอื่นมองเห็นได้ง่ายอย่างธรรมดาสามัญ เพราะมันมาเป็นวัตถุสิ่งของหรือสิ่งสมมติ เช่น ลาภยศ สรรเสริญ ความเพลิดเพลินความมีหน้ามีตาในสังคมเพราะมีทรัพย์เกื้อหนุนให้เป็นหรือในทางตรงกันข้าม เช่น เสื่อมทรัพย์ อัปยศ ถูกนินทา ติเตียน มีความทุกข์ต่าง ๆ รุมสุมเข้ามาเช่นความเจ็บป่วย ความต้องพลัดรากจากปิยชนมีบุตร ภรรยา (สามี) เป็นต้น
ลาภ ยศ สรรเสริญ สุขนั้น คนทั้งหลายพากันฝังใจเชื่อว่าเป็นผลดีหรือผลของกรรมดี ส่วนเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทาติเตียนและทุกข์นั้นเป็นผลชั่วหรือผลของกรรมชั่ว แต่ในชีวิตปัจจุบันที่เห็น ๆ กันอยู่หาได้เป็นเช่นนั้นเสมอไปไม่   ลาภอันให้เกิดขึ้นโดยทุจริต มิจฉาชีพก็ได้ โดยสุจริต สัมมาชีพก็ได้ ยศอาจเกิดขึ้น โดยประจบสอพลอก็ได้ โดยการประกอบการงานอย่างขยันมั่นเพียรก็ได้ สรรเสริญอาจเกิดขึ้นเพียงเพราะผู้สรรเสริญเข้าใจผิดหรือเพราะเป็นพวกเดียวกันมีอคติอยู่ในใจก็ได้เพราะมีคุณความดีจริง  ก็ได้ส่วนความสุข ความเพลิดเพลินนั้นเกิดขึ้นได้หลายวิธี สุดแล้วแต่ชอบ บุคคลชอบสิ่งใดเมื่อได้สิ่งนั้นตามปรารถนาก็รู้สึกสุข เพลิดเพลินไปพักหนึ่ง เมื่อสิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไป ไม่สมใจปรารถนาก็เป็นทุกข์
ในฝ่ายเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ทุกข์ ก็มีนัยเดียวกันกับฝ่ายลาภ ยศ คืออาจเกิดขึ้นเพราะการทำดีหรือทำชั่วก็ได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ทำความดีโดยการบริจาคทรัพย์เพื่อสาธารณกุศลเป็นจำนวนล้าน ทรัพย์นั้นของเขาต้องลดจำนวนลง จะเรียกว่าเสื่อมลาภไม่ คนทำความดีอาจถูกถอดยศก็ได้ เมื่อทำไม่ถูกใจของผู้มีอำนาจให้ยศหรือถอดยศ คนทำดีอาจถูกติเตียนก็ได้ ถ้าคนผู้ติเตียนมีใจไม่เป็นธรรม หรืออคติจงใจใส่ร้ายเขา คนทำดีอาจต้องประสบทุกข์ได้เพราะต้องมีความอดทนต่อความลำบากตรากตรำและความเจ็บใจ เช่น ความลำบากกายลำบายใจในการเลี้ยงดูบุตรและสั่งสอนบุตรให้เป็นคนดี ซึ่งท่านเรียกว่า ความทุกข์ที่ต้องลงทุน (Per-payment)
ผลภายนอกเป็นของไม่แน่นอนอย่างนี้ ถ้าถือเอาผลภายนอกมาเป็นเครื่องตัดสินผลของกรรมย่อมทำให้สับสนเพราะบางคราวผลที่เกิดขึ้นสมแก่กรรม แต่บางคราวไม่สมแก่กรรมเท่าที่บุคคลพอจะมองเห็นได้ในระยะสั้น
ส่วนผลภายใน คือ ผลที่เกิดขึ้นแก่จิตใจของผู้ทำเป็นผลที่แน่นอนกว่า คือ คนทำความดี รู้สึกตนว่าได้ทำความดีจิตใจย่อมผ่องใสขึ้น จิตสูงขึ้น ส่วนคนทำชั่วรู้สึกตนว่าเป็นคนทำชั่ว จิตย่อมเศร้าหมองไป อาการที่จิตเศร้าหมองหรือผ่องแผ้วนั้นเองเป็นผลโดยตรงของกรรมดี กรรมชั่ว สุขทุกข์ของบุคคลอยู่ที่อาการเศร้าหมองหรือผ่องแผ้วของดวงจิตมากกว่าอย่างอื่น ทรัพย์สิน สมบัติ ชื่อเสียง เกียรติยศ จะได้มามากเพียงใดก็ตาม ถ้าใจเศร้าหมอง ทุรนทุรายอยู่ด้วย โลภ โกรธหลงอยู่เสมอแล้ว สิ่งเหล่านั่นหาสามารถให้ความสุขแก่เจ้าของเท่าที่ควรไม่ ตรงกันข้ามกลับเป็นสิ่งให้ทุกข์เดือดร้อนเสียอีก ผู้มีใจผ่องแผ้วเต็มที่ เช่น พระอรหันต์ แม้ไม่มีทรัพย์สมบัติภายนอกที่ชาวโลกกรหายใด ๆ เลยแต่ท่านมีความสุขมากเป็นความสุขที่ไม่เจือด้วยทุกข์               

ความรู้ที่ได้จาก TCU

หลักการสอน
ความหมายของการเรียนการสอน รูปแบบการจัดระบบกระบวนการเรียนการสอน ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนการสอน การสอนวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง การสอนเพื่อความรู้ความเข้าใจ การสอนเพื่อให้เกิดทักษะ การสอนเพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดี เทคนิควิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน การวางแผนการสอน การจัดบรรยากาศของชั้นเรียนเพื่อให้อยู่ในวิธีของบทเรียนและเพื่อสร้างระเบียบวินัย การดำเนินงานในชั้นเรียน การเตรียมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ เช่น การฝึกเขียน จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม การฝึกทำบันทึกการสอน การฝึกทักษะการสอน การทดลองสอน
ระบบออกแบบการสอนมีขั้นตอนดังนี้
1.แจกแจงสิ่งที่วิเคราห์เนื้อหาและวิเคราะห์ผู้เรียน
2.กำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้
3.กำหนดเนื้อหาสาระ
4.เลือกรูปแบบ วิธี กิจกรรมการเรียนการสอน
5.กำหนดการวัดประเมินผล

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต ( Internet )
คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก
ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้ ้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่